การเช็คเงื่อนไขเพื่อให้ได้ผลลัพธ์

การเช็คเงื่อนไขเพื่อหาค่าในภาษาไพรธอน

การเช็คเงื่อนไขเป็นสิ่งที่ต้องใช้งานอยู่ประจำเมื่อได้ทำงานด้านนี้ไม่ว่าจะใหญ่หรือเล็ก มันทำให้เราสามารถแยกการคำนวณของแต่ละ Case ได้อย่างเช่น แยกคนที่ทำงานเกิน 40 ชั่วโมงขึ้นไป หากคนที่ทำงานต่ำกว่า 40 ชั่วโมงจะให้คำนวณอีกแบบเป็นต้น ทำให้เราสามารถแยกสิ่งต่างๆ ที่เราต้องการให้มันเกิดขึ้นได้อย่างเป็นไปได้

การเช็คเงื่อนไขแบบเบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การเช็คเงื่อนไขนั้นเราจะใช้คำที่มีชื่อว่า if หรือแปลว่า "ถ้า" ซึ่งหลังจากนั้นเราจะทำการใส่ค่าหนึ่งลงไปเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้เครื่องหมายการเปรียบเทียบกับอีกค่าหนึ่งตามตัวอย่างที่แนบมา ซึ่งถ้าหากเขียนเงื่อนไขเสร็จเราจะทำการเพิ่ม     : (double-colon) เข้าไปเพื่ิอบอกว่าจบบรรทัดการประกาศเงื่อนไขของ if ซึ่งในบรรทัดไปหลังจากเราปิดด้วย double-colon นั้นจะเป็นสิ่งที่เราต้องการให้ทำ เมื่อเงื่อนไขที่เราได้ตั้งมานั้นมันเป็น จริง (True) และถ้าหากไม่เป็นจริง การเช็คเงื่อนไขก็จะไปเข้าในส่วนของ else เพื่อบอกว่าไม่มีเงื่อนไขใดเข้าเงื่อนไขเลย


การเปรียบเทียบที่มากกว่า 1 ค่า

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การเช็คเงื่อนไขไม่จำเป็นว่าต้องเปรียบเทียบได้แค่ 1 ค่าเท่านั้น คุณสามารถเปรียบเทียบกี่ค่าก็ได้จะ 5 ค่า หรือ 100 ค่าก็ได้ (ถ้าคุณไหว) การเปรียบเทียบที่มากกว่าหนึ่งค่านั้น หากเป็นการเปรียบเทียบระหว่างสองค่าที่ไม่ใช่การเปรียบเทียบแบบเช็คว่าตัวเองเป็นจริงหรือเท็จนั้น ต้องใส่ Parent หรือว่า วงเล็บ -> () เพื่อแยกส่วนการคำนวณและทำให้โค้ดอ่านง่ายขึ้น จากโค้ดเราจะใช้ AND เป็นตัวเชื่อมระหว่างสองเงื่อนไข ซึ่งเงื่อนไขแรกคือ (authentication_service and jwt_authorized) และเงื่อนไขอีกเงื่อนไขคือการเช็คว่าตัวเองนั้นเป็นจริงหรือเท็จ​ ซึ่งผมใส่ not ลงไป ข้างหน้า user_authorized เพื่อบอกว่าสิ่งนี้ต้องเป็น False นะไม่ใช่ True ถ้าหากเราไม่ใส่เวลาเช็คเงื่อนไขมันจะตรวจว่า user_authorized นั้นเป็น True ใช่ไหม? ซึ่งจากในตัวอย่าง user_authorized ผมเป็น False ซึ่งนั่นมันไม่เป็นจริงแน่นอน มันก็จะไม่เข้่าเงื่อนไขของเรานั่นเอง เราก็ต้องใส่ นิเสธ หรือ not ให้กับตัวมัน และเมื่อเงื่อนไขทั้งสองเป็น True And True มันก็เป็น True ใช่ไหม ตามตรรกศาสตร์ที่เราเรียนมา หลังจากนั้นมันก็จะทำงานใน if statement ที่เราสร้างขึ้นมา (ลืมบอกไม่จำเป็นต้องใส่ else นะจ๊ะใช้ได้เหมือนกัน)

การเช็คเงื่อนไขแบบซ้อนกัน

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

คุณสามารถเพิ่มเงื้อนไขลงไปในเงื่อนไขได้อีกทีหนึ่ง​​ ซึ่งไม่เกิดปัญหาอะไร คุณสามารถทำกี่ชั้นก็ได้แต่ไม่น่าดี ซึ่งผมจะไม่พูดถึงเรื่อง Performance จากโค้ดสังเกตว่าผมมีการเพิ่มเงื่อนไขลงไปในส่วนของโค้ดเดิมซึ่งมันก็จะแสดง คำว่า "Void" ออกมาหาก user_authorized นั้นเป็นจริง และผมก็สามารถเพิ่ม else ลงไปให้กับ เงื่อนไขชั้นแรกได้่อีกด้วย หากเงื่อนไขชั้นแรกไม่เป็นจริง โปรแกรมก็จะมาทำงานในส่วนของ Else และแสดงข้อความว่า "Unauthorized"

การเช็คเงื่อนไขแบบหลายเงื่อนไข

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การเพิ่มเงื่อนไขที่มากกว่าเงื่อนไขซึ่งจะใช้คีย์เวิร์ด elif ในการทำซึ่งคุณจะเพิ่มกี่เงื่อนไขก็ได้ที่แตกต่างจากเงื่อนไขหลัก ส่วนวิธีการทำงานของมันนั้นคือ ถ้าหาก เงื่อนไขที่เช็คอันแรกไม่เป็นจริง โปรแกรมมันก็จะทำงานในเงื่อนไขถัดไปต่อเลยซึ่งนั่นก็คือ เงื่อนไขใน elif นั่นเอง ซึ่งคุณก็ยังสามารถใช้ else ได้เหมือนเดิม ในกรณีที่โปรแกรมไม่พบเงื่อนไขอันใดเลยที่ไม่เป็นจริง

ติดต่อฉัน

หากคุณสนใจในผลงานของฉันและต้องการที่จะจ้างงานหรือติดต่อพูดคุยกับฉัน คุณสามารถติดต่อกับฉันได้ผ่านทางฟอร์มในเว็บไซต์นี้ ซึ่งจะถูกส่งไปที่อีเมลล์ของฉันอีกที