การใช้งานตัวแปรแบบดิกชันนารีและเซต

การใช้งานดิกชันนารีและเซตในภาษาไพรธอน

การใช้ดิกชันารีทำให้เราสามารถสร้างสิ่งที่แตกต่างจากลิสต์ได้ตรงที่ Dictionary สามารถกำหนด Key และ Value ได้ ทำให้เราเวลาเรียกข้อมูลก็จะสามารถเรียกแยกได้เลยระหว่าง Key และ Value ซึ่งทำให้เกิดการเขียนโปรแกรมรูปแบบใหม่ๆ และช่วยมาแก้ปัญหาในปัญหาในต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่และเหมาะสมที่จะใช้งานสิ่งนี้, เซตถือว่าเป็นคณิตศาสตร์ที่ทุกคนต้องเคยผ่านซึ่งทำให้ทุกคนสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อแยกสิ่งที่ซ้ำหรือสามารถควบรวมกับอีกหนึ่งข้อมูลได้

การใช้งานดิกชันนารีแบบเบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การใช้งานดิกชันนารีนั้น ในการประกาศตัวแปรเราจะใช้สัญลักษณ์ Curely Brackets หรือ {} ในการประกาศตัวแปรแบบดิกชันนารี ส่วนการใส่ค่าเข้าไปนั้นจะไม่เหมือนแบบของ​ List หรือ Tuple ซึ่งการใส่ค่าให้ดิกชันนารีนั้นจะมีสองส่วนด้วยกันคือ Key และ Value แต่คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นอันหนึ่งที่ใช้ได้กับลิสต์เหมือนกันนั่นก็คือ del ซึ่งเวลาเรียก Value ออกมาดู คุณต้องอ้างอิิงถึงคีย์ของมัน เช่น dict["key"] เป็นต้น ตัวอย่างด้านล่าง


การเช็คเงื่อนไขกับดิกชันนารี

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การเช็คเงื่อนไขกับดิกชันนารีนั้น ส่วนมากมักจะใช้เช็คว่าในคีย์ที่เราเจาะจงที่จะเช็คเนี่ย มีอยู่จริงไหม ถ้ามีอยู่จริงเราจะทำอย่างไรกับมัน ตัวอย่างด้านล่าง

การใช้งานการวนลูปสำหรับดิกชันนารี

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การวนลูปสำหรับดิกชันนารีนั้นมักจะใช้การวนลูปแบบ FOR ซึ่งการวนลูปทำให้เราเข้าถึงชื่อของ Key ทำให้เราเข้าถึงตัวของ Value ของคีย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์อะไรในหลายๆ อย่างได้ และอีกทั้งคุณยังใช้ฟังก์ชั่น len() สำหรับดูว่ามีกี่ Element ตัวอย่างด้านล่าง


การใช้งานฟังก์ชั่นสำหรับดิกชันนารี

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การใช้งานฟังก์ชั่นกับดิกชันนารีนั้นมีอยู่หลายฟังก์ชั่นด้วยกัน ซึ่งที่หยิิบยกมาเป็นตัวอย่างมีทั้งหมด 7 Methods แล้วมีอะไรกันบ้างไปดูกัน

.get(item, exception_message) เป็นฟังก์ชั่นไว้สำหรับดึงค่าของคีย์ที่เราได้เจาะจงไปเอามาซึ่งถ้าหากไม่เจอจะมีการคืนค่ากลับมาเป็น Exception ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนข้อความได้ด้วย

.items() เป็นฟังก์ชั่นไว้สำหรับดึงค่าทั้งหมดในดิกชันนารีและคืนค่ากลับมาเป็น 2 ตัวนั่นก็คือ Key และ Value ซึ่งส่วนมากฟังก์ชั่นนี้มักจะใช้กับการวนลูป

.keys() เป็นฟังก์ชั่นที่จะคืนค่าชื่อของ Key ทั้่งหมดของดิกชันนารีที่เราได้นำฟังก์ชั่นไปใช้ด้วย

.values นั้นเป็นฟังก์ชั่นที่จะคล้ายๆ กับฟังก์ชั่น .keys() แต่ว่าจะเป็นการคืนค่าเป็น Value ทั้งหมดของดิกชันนารีแทน

.pop(item, exception_message) เป็นฟังก์ชั่นไว้สำหรับลบค่านั้นๆ ที่เราเจาะจงออกจากดิกชันนารีซึ่งจะอ้างอิงแค่ Key และอีกทั้งยังมี Exception Message เหมือนกับของ .get(...) อีกด้วย

.popitem() เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้สำหรับสุ่มลบค่าในดิกชันนารีที่คุณนำไปใช้ร่วมด้วย ย้ำว่า สุ่ม

.clear() ฟังก์ชั่นสุดท้ายนี้เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้ลบทุกอย่างค่าทุกอย่างในดิกชันนารีที่คุณนำไปใช้ร่วมด้วย

เซตแบบเบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

วิธีการใช้เซตนั้นคล้ายคลึงกับการใช้ดิกชันนารีตรงที่ใช้สัญลักษณ์ Curely Brackets หรือ {} เหมือนกัน แต่ว่าไม่มีคีย์นั่นเอง หรือว่าคุณสามารถใช้ set() ครอบไปที่ตัวแปร List ไปเลยก็ได้ เช่น set([1, 2, 3, 4, 5]) เป็นต้น เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ตัวแปรแบบเซตแล้ว

การใช้งานฟังก์ชั่นกับเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

ฟังก์ชั่นที่หยิบยกมาเป็นตัวอย่างนี้มีอยู่ 6 ฟังก์ชั่น มีอะไรกันบ้างไปดูกันเลย

len() เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้เช็คว่ามีข้อมูลอยู่กี่ชุด ซึ่งเราได้ใช้ไปเยอะแล้ว

.add(element) เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้เพิ่มวัตถุที่เราต้องการให้มันเพิ่มเข้าไปในเซตซึ่งจะถูกเพิ่มไว้หลังสุด

.update([list()]) เป็นฟังก์ชั่นที่เหมือนกับ .add(element) ซึ่งต่างกันตรงที่ .update() นั้นสามารถเพิ่มได้มากกว่า 1 ตัวนั่นเอง

.remove(element) และ .discard(element) ในส่วนของฟังก์ชั่นสองตัวนี้รวมกันเพราะต้องเปรียบเทียบความแตกต่าง เพราะว่าความสามารถของมันนั้นเหมือนกันคือการลบข้อมูลออกจากเซตโดยการใส่ข้อมูลที่ต้องการจะลบลงไปใน Parameter แต่คุณสมบัตินั้นต่างกัน discard() นั้นไม่มี Exception แต่ remove() นั้นมี Exception ที่มีชื่อว่า KeyError ซึ่งนั่นแปลว่าเราสามารถนำไปใช้กับ try...catch ได้

.clear() เป็นฟังก์ชั่นเอาไว้ลบข้อมูลทั้งหมดของเซตที่เรานำฟังก์ชั่นไปใช้ร่วมด้วย


การยูเนียนโดยเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยใช้ฟังก์ชั่นหรือเครื่องหมายในการทำยูเนียน ซึ่งถ้าหากเป็นฟังก์ชั่น .union() หรือถ้าหากเป็นเครื่องหมาย set_1 | set_2 ซึ่งตัวอย่างอยู่ด้านล่าง


การอินเทอร์เซกชั่นโดยเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยใช้ฟังก์ชั่นหรือเครื่องหมายในการทำอินเทอร์เซกชั่น ซึ่งถ้าหากเป็นฟังก์ชั่น .intersection() หรือถ้าหากเป็นเครื่องหมาย set_1 & set_2 ซึ่งตัวอย่างอยู่ด้านล่าง


การซิมมีติกโดยเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยใช้ฟังก์ชั่นหรือเครื่องหมายในการทำซิมมีติก ซึ่งถ้าหากเป็นฟังก์ชั่น .symmetric_difference() หรือถ้าหากเป็นเครื่องหมาย set_1 ^ set_2 ซึ่งตัวอย่างอยู่ด้านล่าง


การเช็คซับเซตโดยเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยใช้ฟังก์ชั่นหรือเครื่องหมายในการเช็คซับเซต ซึ่งถ้าหากเป็นฟังก์ชั่น .issubset() หรือถ้าหากเป็นเครื่องหมาย set_1 <= set_2 ซึ่งตัวอย่างอยู่ด้านล่าง


การเช็คซูเปอร์เซตโดยเซต

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยใช้ฟังก์ชั่นหรือเครื่องหมายในการเช็คซูปเปอร์เซต ซึ่งถ้าหากเป็นฟังก์ชั่น .issuperset() หรือถ้าหากเป็นเครื่องหมาย set_1 >= set_2 ซึ่งตัวอย่างอยู่ด้านล่าง

การจัดอันดับวัตถุ

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โดยในหัวข้อนี้เป็นการใช้งานดิกชันนารีเพื่อเซฟข้อมูลลงในไฟล์ที่เรากำหนดซึ่งจะใช้โมดูลที่มีชื่อว่า pickle ซึ่งโมดูลนี้จะมีฟังก์ชั่นที่ใช้หลักๆ อยู่สองตัวนั่นก็คือ .load(file) กับ .dump(object, file)

ตัวอย่างด้านล่าง ที่เราได้เอามาเป็นตัวอย่างนั้นจะเกี่ยวกับฟังก์ชั่น .dump() ซึ่งฟังก์ชั่นนี้จะเอาทำการนำอ็อบเจกต์ไปเซฟลงในไฟล์ที่เรากำหนด


ตัวอย่างด้านล่าง ที่เราได้เอามาเป็นตัวอย่างนั้นจะเกี่ยวกับฟังก์ชั่น .load() ซึ่งฟังก์ชั่นนี้จะเอาไว้ดึงข้อมูลจากไฟล์ที่เรากำหนดเพื่อนำอ็อบเจกต์มาใช้งาน

ติดต่อฉัน

หากคุณสนใจในผลงานของฉันและต้องการที่จะจ้างงานหรือติดต่อพูดคุยกับฉัน คุณสามารถติดต่อกับฉันได้ผ่านทางฟอร์มในเว็บไซต์นี้ ซึ่งจะถูกส่งไปที่อีเมลล์ของฉันอีกที