การใช้งานตัวแปรแบบลิสต์

การใช้งานตัวแปรแบบลิสต์ในภาษาไพรธอน

ข้อมูลประเภทลิสต์นั้นเป็นประเภทข้อมูลที่ช่วยทำให้่เราสามารถเก็บตัวแปรให้ได้เยอะๆ ได้ในภายในตัวแปรเดียวซึ่งคุณสามารถใส่ประเภทข้อมูลอื่นได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแปรประเภทของข้อมูลเดียวกัน​ ซึ่งในการใช้งานลิสต์นั้นโดยส่วนมากจะมีการใช้วนลูปโดยส่วนมากในการร่วมใช้งานกับตัวแปรประเภทลิสต์

การใช้งานลิสต์เบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

หากคุณต้องการใช้งานลิสต์นั้น คุณต้องใช้สัญลักษณ์หนึ่งซึ่งเรียกว่า Square Brackets หรือ [] ในการให้่ค่่ากับตัวแปรซึ่งคุณสามารถใส่ค่าให้มันไปเลยก็ได้หรือว่าเว้นว่างไว้ใส่ค่าที่หลังก็ได้ ตัวอย่างตามข้างล่าง


ตำแหน่งและขนาดของลิสต์

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

ลิสต์นั้นมีตำแหน่งของมันด้วยซึ่งคล้ายคลึงเหมือนกับของ สตริง แต่ว่าของลิสต์นั้นจะนับเป็นข้อมูลเช่น [1, 2 ,3] ผมต้องการเอา 1 กับ 3 มาผมก็แค่เรียก ชื่อตัวแปรของลิสต์แล้วก็ตามด้วย [ตำแหน่ง] ซึ่งจะกลายเป็น numbers[0] กับ number[2] ซึ่งถ้าหากคงเรามีโค้ดตัวอย่างด้านล่าง

การประยุกต์ใช้งานลิสต์

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การประยุกต์ใช้งานลิสต์นั้นเป็นไปได้หลายแนวทางมากและมีการใช้งานร่วมกับฟังก์ชั่นอีกด้วยทำให้เกิด แนวทางการเขียนโปรแกรมแบบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นและยังมีเรื่องของ การวนลูป อีกด้วย เดี๋ยวเราไปดูกันเลย

การเช็คเงื่อนไขและการวนลูปสำหรับลิสต์ ซึ่งสำหรับการเช็คเงื่อนไขนั้นมีอยู่ 2 คีย์เวิร์ดที่ใช้บ่อยๆ นั่นก็คือ not และ in แต่สำหรับ in นั้่นสามารถใช้กับในการวนลูปอีกด้วย ซึ่งคุณสามารถดูได้จากตัวอย่างโค้ดด้านล่าง


การใช้งานฟังก์ชั่นร่วมกับลิสต์

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การใช้งานฟังก์ชั่นร่วมกับลิสต์นั้น ในส่วนของโค้ดนี้จะเป็นการใช้งาน .append(item) กับ .index(item) ซึ่งฟังก์ชั่นแรกจะเป็นการเพิ่มไอเทมเข้าไปในลิสต์ที่เราใช้ฟังก์ชั่นด้วยซึี่งจะเพิ่มเข้าไปหลังสุดของลิสต์ และส่วนฟังก์ชั่นที่สองไว้ใช้สำหรับหาไอเทมในลิสต์เพียงแค่ใส่สตริงหรือข้อความที่ต้องการจะหาเข้าไป ตัวอย่างตามด้านล่าง


การใช้งานฟังก์ชั่น .insert(index, item), .sort(), .remove(item) และ .reverse() เริ่มต้นที่ฟังก์ชั่นแรกก็คือ .insert(index, item) นั้นเป็นตัวแทรกข้่อมูลด้วยต้องการตำแหน่งของลิสต์และก็ไอเท็มที่ต้องการจะเพิ่มเข้าไป ฟังก์ชั่นที่สอง .sort() เป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้จัดเรียงตัวเลขหริือตัวอักษรให้มันเรียงความสำคัญของลิสต์หรือว่าเรียงจากเล็กไปใหญ่ ฟังก์ชั่นที่สาม .remove(item()) เอาไว้ใช้สำหรับการลบไอเท็มออกจากลิสต์ และฟังก์ชั่นสุดท้ายคือ .reverse() มันเอาไว้สำหรับกลับด้านข้อมูลจากหน้าเป็นหลัง ตัวอย่างตามด้านล่าง


การใช้งานฟังก์ชั่น del, min() และmax() เป็นฟังก์ชั่นสุดท้ายในบทสำหรับของลิสต์ ซึ่งฟังก์ชั่นแรกเอาไว้ลบไอเท็มในลิสต์แบบเจาะจง ฟังก์ชั่นที่สอง min() เอาไว้หาค่าที่ต่ำที่สุด ฟังก์ชั่นสุดท้ายคือ max() เอาไว้หาค่าที่สูงที่สุด ตัวอย่างตามด้านล่าง


ลิสต์แบบหลายมิติ

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

ลิสต์นั้นที่เราได้เห็นมาก่อนหน้านี้ เป็นลิสต์แบบหนึ่งมิติซึ่งเก็บข้อมูลแบบชุดเดียวในลิสต์เดียว แต่ลิสต์แบบ หลายมิติ สามารถเก็บข้อมูลเป็นลิสต์ในลิสต์ได้อีกที่ทำให้สามารถแยกหมวดหมู่ตามที่เราต้องการได้ อย่างเช่น ลิสต์ที่หนึ่งเป็นสตริงและลิสต์ที่สองเป็นเลข เป็นต้น ซึ่งรูปแบบหรือหน้าตาของลิสต์หลายมิตินั้นเป็นประมาณนี้ dimensions = [[1, 2, 3], ["a", "b", "c"], ...] ซึ่งมันเป็นลิสต์แบบซ้อนทับกัน

ตำแหน่งของลิสต์แบบหลายมิติ นั้นคล้ายคลึงแบบของหนึ่งมิติซึ่งวิธีอ้างอิงถึงลิสต์ข้างในอีกทีหนึ่งนั้นจะใช้ [][].. ซึ่งจะใส่ Square Brackets ตามจำนวนของมิติ ตัวอย่างตามด้านล่าง


การประยุกต์ใช้การวนลูปกับลิสต์หลายมิติ

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

โค้ดตัวอย่างนี้จะเป็นการสุ่มตัวเลข 1 ถึง 100 โดยมีการกำหนด ROWS และ COLUMNS สำหรับการให้ค่่ากับลิสต์ภายในอีกทีหนึ่ง ซึ่งฟังก์ชั่นการสุ่มตัวเลข เราได้นำเข้าโมดูลที่มีชื่อว่า random และใช้ฟังก์ชั่น randint(min, max) และหลังจากนั้นจะทำการแสดงผลออกมา ตัวอย่างตามด้านล่าง

การใช้งานทูเปิลแบบเบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

ทูเปิลนั้นไม่เหมือนกับลิสต์ที่จะสามารถเปลี่ยนแค่ภายในตัวเองได้ ดังนั้นหมายความว่าทูเปิลนั้นไม่สามารถเปลี่ยนค่าภายในของตัวเองได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำอะไรกับมันได้เลย ซึ่งฟังก์ชั่นที่สามารถใช้ได้นั้นมักเป็นฟังก์ชั่นที่เอาไว้สำหรับการอ่านหรือเข้าถึงข้อมูล เช่น index(), len(), min() และ max() เป็นต้น และยังสามารถนำไปคิิดคำนวณได้อีกด้วยเช่นการ + และ * เป็นต้น หรือเป็นการเช็คเงื่อนไขก็ in ก็สามารถใช้งานได้ ตัวอย่างตามด้านล่าง

การใช้ไลบรารี่สำหรับแสดงกราฟ

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การใช้งานไลบรารี่สำหรับการแสดงกราฟนั้น มีตัวเด่นอยู่นั่นคือ matplotlib ซึ่งเป็นไลบรารี่ที่ดีที่สุดตอนนี้สำหรับการทำ Data Visualization

วิธีการติดตั้งคือหากคุณใช้ Windows คุณสามารถใช้คำสั่งที่มีชื่อว่า
pip install matplotlib

วิธีการติดตั้งคือหากคุณใช้ MacOS or Linux คุณสามารถใช้คำสั่งที่มีชื่อว่า
pip3 install matplotlib

การสร้างกราฟแบบแรก เป็นแบบเส้นโดยใช้ข้อมูลจากตัวแปรประเภทลิสต์นำมาเป็นข้อมูลให้กับกราฟเพื่อที่จะตีเส้นจุดสูงและจุดต่ำ ซึ่งกราฟแบบนี้เรียกว่า กราฟแบบเส้น ซึ่งใช้ฟังก์ชั่น .plot() ในการสร้าง


การสร้างกราฟแบบสอง เป็นแบบแท่งโดยใช้ข้อมูลจากลิสต์และกำหนดขนาดความสูงจากลิสต์และความหนาของแท่ง ซึ่งกราฟแบบนี้เรียกว่า กราฟเทียนแท่ง ซึ่งใช้ฟังก์ชั่น .bar() ในการสร้างกราฟ


การสร้างกราฟแบบสาม เป็นแบบพายโดยนำข้อมูลจากลิสต์มาใช้งาน ซึ่งกราฟแบบนี้เรียกว่า กราฟสัดส่วนพาย ซึ่งใช้ฟังก์ชั่น .pie() ในการสร้างกราฟ

ติดต่อฉัน

หากคุณสนใจในผลงานของฉันและต้องการที่จะจ้างงานหรือติดต่อพูดคุยกับฉัน คุณสามารถติดต่อกับฉันได้ผ่านทางฟอร์มในเว็บไซต์นี้ ซึ่งจะถูกส่งไปที่อีเมลล์ของฉันอีกที