การใช้งานฟังก์ชั่นและการประยุกต์

การใช้งานฟังก์ชั่นและการประยุกต์ในไพรธอน

การใช้งานฟังก์ชั่นนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากในการแยกโค้ดเพื่อจัดระเบียบการเขียนโค้ดของเราและยังเพิ่มวิธีการเขียนโค้ดแบบใหม่ๆ อีกด้วย ทำให้เกิดวิธีการทำงานใหม่ขึ้นๆ ซึ่งมีประโยชน์อย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราจะได้ใช้กันทุกวันเมื่อได้เขียนโปรแกรม ซึ่งมันจะสอดแทรกไปทุกๆ ที่ของโปรแกรม

การใช้งานฟังก์ชั่นเบื้องต้น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การเขียนโปรแกรมแบบฟังก์ชั่นนั้นทำให้เราสามารถจัดระเบียบโค้ดของเราได้ง่ายขึ้นและทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆ ในการเขียนโปรแกรมอีกด้วย ซึ่งหนึงในแนวทางการเขียนนั้นที่ใช้ฟังก์ชั่นร่วมเข้ามาด้วยนั่นก็คือ Recursion แต่เราจะไม่ใช้มันกันในบทเรียนนี้ เพราะมันเป็นบทเรียนแบบเบื้องต้น

จากตัวอย่าง ผมต้องการให้ การนับเลขหนึ่งถึงสิบและการแสดงผลชื่อของผม มันถูกจัดเก็บไว้ในที่ๆ หนึ่งและสามารถเรียกใช้อันใดอันหนึ่งก็ได้ หรือใช้ได้ทุกสองอันเลยก็ได้ ผมควรทำอย่างไร?

สิ่งที่ผมควรทำคือการใช้งานฟังก์ชั่น ซึ่งวิธีการใช้งานฟังก์ชั่นนั้นไม่ยากเนื่องจากมีการใช้คีย์เวิร์ดแค่ def ตามด้วยชื่อฟังก์ชั่นและวงเล็บปิดท้่ายที่ติดกับชื่อของฟังก์ชั่น ซึ่งคุณสามารถดูได้จากตามตัวอย่างด้านล่าง ซึ่งวิธีเรียกใช้งาน ผมก็จะสามารถเรียกใช้โดยเรียกชื่อฟังก์ชั่นพร้อมวงเล็บได้เลย เช่น one_to_ten() หรือ my_name() ซึ่งผมไม่จำเป็นต้องเรียกทั้ง สองฟังก์ชั่น เมื่อผมประกาศแล้ว ผมสามารถเรียกอันใดหนึ่งก็ได้ ซึ่งอันที่ ไม่ได้เรียก ก็จะไม่ถูกทำงานแต่โค้ดตรงนั้นยังอยู่และเราสามารถเรียกตอนไหนก็ได้


ตัวแปรภายในฟังก์ชั่น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

การนำตัวแปรภายในฟังก์ชั่นมาใช้งานนั้น ไม่เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ ไม่ใช่ว่าเราจะทำไม่ได้ ซึ่งอยู่ในบทที่เรากำลังอ่านกัน ซึ่งเป็นคีย์เวิร์ดที่เราต้องจำกันอีกแล้ว เดี๋ยวเรามาเรียนกันทีหลังนะ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมาก โปรดติดตาม

การเพิ่มค่าให้กับฟังก์ชั่น

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

ฟังก์ชั่นนั้นมีความสามารถพิเศษอีกอย่างนั่นก็คือการเพิ่มค่าเข้าไปในวงเล็บซึ่งต่อไปนี้ ผมจะเรียกว่า Parameter ซึ่งเจ้า Parameter นี้เนี่ยเป็นตัวเอาไว้ใส่ค่าลงไปในฟังก์ชั่นเพื่อที่ฟังก์ชั่นจะนำไปใช้งานหรือคำนวณอะไรต่อของมันในฟังก์ชั่นของมัน ซึ่งเราสามารถประกาศตัวแปรแล้วเอาชื่อตัวแปรเข้าไปใส่ได้ตามปกติเลย

เพิ่มเติมสำหรับคีย์เวิร์ด Return คีย์เวิร์ดนี้เป็นคีย์เวิร์ดไว้ใช้สำหรับจบการทำงานของฟังก์ชั่นซึ่งคุณสามารถเพิ่มค่าที่ต้องการให้มันคืนค่ากลับไปได้ด้วย อย่างเช่น ผมประกาศตัวแปรชื่อ name และผมให้ค่ามันเป็นฟังก์ชั่นของผมที่ return "yongyuth" พอจบการทำงานตัวแปร name ที่ผมตั้งไว้ก็จะกลายเป็นสตริงเพราะได้รับการคืนค่ามาจากฟังก์ชั่นนั่นเอง ถ้าคิดไม่ออก ให้คิดถึงฟังก์ชั่น input() เวลาเราประกาศตัวแปรแล้วเราพิมพ์ค่าลงไป ค่ามันกลับเข้ามาในตัวแปรได้ไงก็ประมาณนั้นครับ

ตัวแปรฟังก์ชั่นที่ออกภายนอก

พื้นฐานวิชาคอมพิวเตอร์โปรแกรมมิ่งทั่วไป

คุณสามารถเอาตัวแปรภายในฟังก์ชั่นไปใช้งานภายนอกได้ซึ่งจะใช้คีย์เวิร์ด global และก็ตามด้วยชื่อตัวแปรที่คุณต้องการ และหลังจากนั้นคุณก็สามารถนำไปใช้งานภายนอกฟังก์ชั่นได้เลย ตามตัวอย่างข้างล่าง

ติดต่อฉัน

หากคุณสนใจในผลงานของฉันและต้องการที่จะจ้างงานหรือติดต่อพูดคุยกับฉัน คุณสามารถติดต่อกับฉันได้ผ่านทางฟอร์มในเว็บไซต์นี้ ซึ่งจะถูกส่งไปที่อีเมลล์ของฉันอีกที